คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 16

วันนี้เป็นวันปิดคอร์สเรียน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องของการใช้แท็บเล็ตในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ภายในเวลา 20 นาที และในช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้ให้ส่งงานที่ค้างทั้งหมด ส่วนคนที่ยังไม่ได้ลิงค์ Blog อาจารย์ก็ให้ไปลิงค์ให้เสร็จ และสุดท้ายให้นักศึกษาทำ Blogger ให้เสร็จทั้งหมดภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2555




วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

งานวิจัยเกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัย


1.การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนภาษาแบบธรรมชาติกับแบบฮาร์ทส

2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติที่มีผลต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย


3.ความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการฝึกโดยใช้การละเล่นของเด็กไทยที่มีบทร้องและบทเจรจาโต้ตอบแบบประยุกต์


4.การพัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย


5.การพัฒนาแบบประเมินทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปจากการดูโทรทัศน์ครู เรื่อง เล่นสนุกกับภาษาอังกฤษ ตอน 1 และ ตอน 2 ของคุณครูทิพวรรณ โคตรวัฒน์ รร.พระกุมารเยซูวิทยาขอนแก่น




ในการจัดเรียนการสอนจะใช้หลักสูตรพิงกุ โดยใช้ในชั้นอนุบาล 1 ซึ่งในหลักสูตรนี้จะเริ่มตั้งแต่สิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยมีขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอน คือ
1.Introduction (ขั้นนำ) จะเปิดแอปพลิโสตให้เด็กดู โดยมีตัวพิงกุเป็นตัวดำเนินเรื่อง หลังจากจบกิจกรรมนี้ก็จะมีช่วง Sometime ให้เด็กได้ร้องเพลงและเต้นประกอบจังหวะ
2.Expansion (ขั้นดำเนินการสอน) จะทบทวนโดยใช้อุปกรณ์จริงให้เด็กดู เพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเชื่อมโยงในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว
3.Consolidation (ขั้นขยายประสบการณ์) ได้นำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยจะแบ่งเป็น 5 ฐาน คือ 
- Computer time ฝึกให้เด็กฝึกทักษะการฟัง คิด ตัดสินใจ และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
- pinguland mat & pingurinrs ฝึกให้เด็กพูดประโยค และทำงานร่วมกับผู้อื่น
- Medeling play ฝึกให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อมัดเล็กในการบีบนวด
- Letters & Nambers book ฝึกให้เด็กเขียนและจับดินสอที่ถูกต้อง
- Art & Craft ฝึกให้เด็กได้คิด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
4.Review and Assessment (ขั้นทบทวน และประเมินผล) จะทบทวนด้วยบัตรคำศัพท์อีกครั้งและจบด้วยช่วง Sometime หลังจากนั้นให้เด็กทำแบบทดสอบออนไลน์ในคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นการประเมินผลเด็ก
ประโยชน์
1.เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ
2.เด็กได้ฟังสำเนียงอเมริกันที่ถูกต้อง
3.เด็กได้ฝึกพูดตาม
4.เด็กได้ฝึกทักษะการฟัง การอ่าน และเขียน
5.เด็กได้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

อาจารย์บอกถึงวิธีการเรียนการสอนนั้นมีหลากหลายแบบซึ่งทุกวิธีสามารถที่จะบรูณาการเข้าด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ เทคโนโลยี จิตวิทยา เป็นต้น อาจารย์ยังพูดถึงหลักการว่าประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการทำอะไร เพื่ออะไร ก่อนจะไปขั้นวิเคราะห์ เมื่อเสร็จขั้นนี้ก็จะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย แล้วนำเสนอ และสุดท้ายนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในท้ายช่วงโมงอาจารย์ได้ให้ทำแบบประเมินและลิงค์ Blogger ของนักศึกษาให้อาจารย์



งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้ทำลิงค์ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

วันนี้ได้นำเสนอเพลงและนิทานต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ เพลงท้องฟ้าแสนงามในเนื้อหาของเพลงจะเกี่ยวกับท้องฟ้า ดวงตะวัน ดวงจันทร์และดวงดาว ที่มีความสวยงามไม่ว่าจะตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ในการแต่งเนื้อเพลงจะใช้คำที่ซ้ำๆกันและคล้องจองเพื่อที่จะร้องได้ง่ายและฟังดูไพเราะ

เพลง ท้องฟ้าแสนงาม
โอ้ท้องฟ้าแสนงาม       ดูสีครามสดใส
มองเห็นดอกไม้   สวยงามจริงจริงสวยงามจริงจริง
เมื่อตะวันตกดิน    ตะวันตกดิน    ตะวันตกดิน
เห็นดวงจันทร์       อยู่บนฟ้า       เห็นหมู่ดารา
เคียงคู่พระจันทร์     เคียงคู่พระจันทร์

และนิทานที่ใช้เล่าชื่อเรื่อง พระจันทร์ไม่มีเพื่อน


เนื้อหาของนิทานจะพูดถึงพระจันทร์ที่ต้องอยู่โดดเดี่ยวอย่างเหงาๆไม่มีเพื่อนและต้องการที่จะมีเพื่อน จึงออกค้นหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีเพื่อนบ้าง พระจันทร์เลยขับยานไปยั้งโลกมนุษย์เพื่อหาคำตอบ แต่พอมาถึงโลกมนุษย์พระจันทร์กลับต้องเจออุปสรรคมากมายกว่าจะได้พบเพื่อน ซึ่งเพื่อนของพระจันทร์คือ ปลาดาว มีเพียงแค่ปลาดาวที่เป็นเพื่อนกับพระจันทร์เท่านั้นถึงแม้มีเพียงแค่หนึ่งเดียวแต่พระจันทร์ก็ดีใจและมีความสุข นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า อุปสรรคจะทำให้เจอกับเพื่อนแท้



วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

ก่อนเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาบอกชิ้นงานทั้งหมดที่สั่งไปว่ามีอะไรบ้าง หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนถึงการสร้างสื่อการเรียนรู้ทางภาษา(มุมภาษา) ว่าควรจัดให้มีหนังสือนิทาน เทปเพลง มีโต๊ะเล็กๆ  มีเบาะ ลองนั่ง หุ่นนิ้วมือ โรงละครเล็ก และมีกระดาษเล็กๆให้เขียนใส่กล่อง อีกทั้งอาจารย์ยังพูดถึงการบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการนี้จะเป็นตัวช่วยเสริม จะมีองค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นนำ ร้องเพลง นิทาน ประสบการณ์เดิม เกม และคำคล้องจอง ซึ่งควรจัดมุมประสบการณ์ให้ถูกต้องเพื่อที่เด็กจะได้รับการพัฒนาและความรู้จากมุมประสบการณ์นี้ได้อย่างเหมาะสม


วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

วันนี้ส่งสื่อปฏิทิน ซึ่งกลุ่มดิฉันตั้งชื่อ สื่อว่าปฏิทินภาษาพาเพลิน ได้อักษรกลาง : ก  จ  ด  ต  บ  ป  อ และสระแอะ แอ เมื่อประกอบอักษรกลางกับสระแอะ จะได้ แกะ แจะ แดะ แตะ แบะ แปะ แอะ ส่วนอักษรกลางกับสระแอ จะได้ แก แจ แด แต แบ แป แอ