คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 16

วันนี้เป็นวันปิดคอร์สเรียน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องของการใช้แท็บเล็ตในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ภายในเวลา 20 นาที และในช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้ให้ส่งงานที่ค้างทั้งหมด ส่วนคนที่ยังไม่ได้ลิงค์ Blog อาจารย์ก็ให้ไปลิงค์ให้เสร็จ และสุดท้ายให้นักศึกษาทำ Blogger ให้เสร็จทั้งหมดภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2555




วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

งานวิจัยเกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัย


1.การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนภาษาแบบธรรมชาติกับแบบฮาร์ทส

2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติที่มีผลต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย


3.ความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการฝึกโดยใช้การละเล่นของเด็กไทยที่มีบทร้องและบทเจรจาโต้ตอบแบบประยุกต์


4.การพัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย


5.การพัฒนาแบบประเมินทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปจากการดูโทรทัศน์ครู เรื่อง เล่นสนุกกับภาษาอังกฤษ ตอน 1 และ ตอน 2 ของคุณครูทิพวรรณ โคตรวัฒน์ รร.พระกุมารเยซูวิทยาขอนแก่น




ในการจัดเรียนการสอนจะใช้หลักสูตรพิงกุ โดยใช้ในชั้นอนุบาล 1 ซึ่งในหลักสูตรนี้จะเริ่มตั้งแต่สิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยมีขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอน คือ
1.Introduction (ขั้นนำ) จะเปิดแอปพลิโสตให้เด็กดู โดยมีตัวพิงกุเป็นตัวดำเนินเรื่อง หลังจากจบกิจกรรมนี้ก็จะมีช่วง Sometime ให้เด็กได้ร้องเพลงและเต้นประกอบจังหวะ
2.Expansion (ขั้นดำเนินการสอน) จะทบทวนโดยใช้อุปกรณ์จริงให้เด็กดู เพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเชื่อมโยงในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว
3.Consolidation (ขั้นขยายประสบการณ์) ได้นำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยจะแบ่งเป็น 5 ฐาน คือ 
- Computer time ฝึกให้เด็กฝึกทักษะการฟัง คิด ตัดสินใจ และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
- pinguland mat & pingurinrs ฝึกให้เด็กพูดประโยค และทำงานร่วมกับผู้อื่น
- Medeling play ฝึกให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อมัดเล็กในการบีบนวด
- Letters & Nambers book ฝึกให้เด็กเขียนและจับดินสอที่ถูกต้อง
- Art & Craft ฝึกให้เด็กได้คิด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
4.Review and Assessment (ขั้นทบทวน และประเมินผล) จะทบทวนด้วยบัตรคำศัพท์อีกครั้งและจบด้วยช่วง Sometime หลังจากนั้นให้เด็กทำแบบทดสอบออนไลน์ในคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นการประเมินผลเด็ก
ประโยชน์
1.เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ
2.เด็กได้ฟังสำเนียงอเมริกันที่ถูกต้อง
3.เด็กได้ฝึกพูดตาม
4.เด็กได้ฝึกทักษะการฟัง การอ่าน และเขียน
5.เด็กได้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

อาจารย์บอกถึงวิธีการเรียนการสอนนั้นมีหลากหลายแบบซึ่งทุกวิธีสามารถที่จะบรูณาการเข้าด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ เทคโนโลยี จิตวิทยา เป็นต้น อาจารย์ยังพูดถึงหลักการว่าประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการทำอะไร เพื่ออะไร ก่อนจะไปขั้นวิเคราะห์ เมื่อเสร็จขั้นนี้ก็จะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย แล้วนำเสนอ และสุดท้ายนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในท้ายช่วงโมงอาจารย์ได้ให้ทำแบบประเมินและลิงค์ Blogger ของนักศึกษาให้อาจารย์



งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้ทำลิงค์ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

วันนี้ได้นำเสนอเพลงและนิทานต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ เพลงท้องฟ้าแสนงามในเนื้อหาของเพลงจะเกี่ยวกับท้องฟ้า ดวงตะวัน ดวงจันทร์และดวงดาว ที่มีความสวยงามไม่ว่าจะตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ในการแต่งเนื้อเพลงจะใช้คำที่ซ้ำๆกันและคล้องจองเพื่อที่จะร้องได้ง่ายและฟังดูไพเราะ

เพลง ท้องฟ้าแสนงาม
โอ้ท้องฟ้าแสนงาม       ดูสีครามสดใส
มองเห็นดอกไม้   สวยงามจริงจริงสวยงามจริงจริง
เมื่อตะวันตกดิน    ตะวันตกดิน    ตะวันตกดิน
เห็นดวงจันทร์       อยู่บนฟ้า       เห็นหมู่ดารา
เคียงคู่พระจันทร์     เคียงคู่พระจันทร์

และนิทานที่ใช้เล่าชื่อเรื่อง พระจันทร์ไม่มีเพื่อน


เนื้อหาของนิทานจะพูดถึงพระจันทร์ที่ต้องอยู่โดดเดี่ยวอย่างเหงาๆไม่มีเพื่อนและต้องการที่จะมีเพื่อน จึงออกค้นหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีเพื่อนบ้าง พระจันทร์เลยขับยานไปยั้งโลกมนุษย์เพื่อหาคำตอบ แต่พอมาถึงโลกมนุษย์พระจันทร์กลับต้องเจออุปสรรคมากมายกว่าจะได้พบเพื่อน ซึ่งเพื่อนของพระจันทร์คือ ปลาดาว มีเพียงแค่ปลาดาวที่เป็นเพื่อนกับพระจันทร์เท่านั้นถึงแม้มีเพียงแค่หนึ่งเดียวแต่พระจันทร์ก็ดีใจและมีความสุข นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า อุปสรรคจะทำให้เจอกับเพื่อนแท้



วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

ก่อนเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาบอกชิ้นงานทั้งหมดที่สั่งไปว่ามีอะไรบ้าง หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนถึงการสร้างสื่อการเรียนรู้ทางภาษา(มุมภาษา) ว่าควรจัดให้มีหนังสือนิทาน เทปเพลง มีโต๊ะเล็กๆ  มีเบาะ ลองนั่ง หุ่นนิ้วมือ โรงละครเล็ก และมีกระดาษเล็กๆให้เขียนใส่กล่อง อีกทั้งอาจารย์ยังพูดถึงการบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการนี้จะเป็นตัวช่วยเสริม จะมีองค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นนำ ร้องเพลง นิทาน ประสบการณ์เดิม เกม และคำคล้องจอง ซึ่งควรจัดมุมประสบการณ์ให้ถูกต้องเพื่อที่เด็กจะได้รับการพัฒนาและความรู้จากมุมประสบการณ์นี้ได้อย่างเหมาะสม


วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

วันนี้ส่งสื่อปฏิทิน ซึ่งกลุ่มดิฉันตั้งชื่อ สื่อว่าปฏิทินภาษาพาเพลิน ได้อักษรกลาง : ก  จ  ด  ต  บ  ป  อ และสระแอะ แอ เมื่อประกอบอักษรกลางกับสระแอะ จะได้ แกะ แจะ แดะ แตะ แบะ แปะ แอะ ส่วนอักษรกลางกับสระแอ จะได้ แก แจ แด แต แบ แป แอ 



วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11


อาจารย์ได้ให้ฟังเพลงเกาะสมุย แล้วให้คิดตามเพลงไปด้วยว่า เนื้อเพลงบอกอะไร วัตถุประสงค์ของเพลง รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ฟัง หลังจากที่เพลงจบอาจารย์ได้ถามเป็นรายบุุคคล ซึ่งดิฉันตอบว่า เนื้อเพลงบอกถึงเกาะสมุย วัตถุประสงค์เพื่อให้รู้ว่าเกาะสมุยน่าเที่ยวและสวยงาม รู้สึกอยากไปเที่ยวทะเล 


เมื่อร่วมอภิปรายถึงเพลงเกาะสมุยเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ได้พูดถึงนิทานเรื่องหนึ่งชื่อ ช้างน้อยอัลเฟรด เป็นเรื่องของช้างที่มีงวงยาวกว่าผิดปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อัลเฟรดพยายามซ่อนงวงของตัวเอง แต่แล้ววันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดเห็นดังนั้นจึงได้ใช้งวงของตัวเองช่วยเด็กผู้หญิงคนนั้นลงมา เมื่อสัตว์อื่นๆพากันเห็นจึงชื่นชมอัลเฟรดและนับแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขเพราะว่าไม่ต้องคอยซ่อนงวงอีกต่อไป นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า ควรภูมิใจในคุณค่าของตนเอง จบนิทานเรื่องนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับนิทานเรื่องนี้และควรจัดอย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย








วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10 (ชดเชย)

อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ ซึ่งประกอบไปด้วย
- การอ่าน
- การเขียนได้แก่ ภาพ ตัวอักษร
- การพูด ได้แก่ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ เล่าข่าว
- การฟัง ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย
- คลื่นเสียง ได้แก่ ดนตรี จังหวะ
- อัดเทปเสียง
ซึ่งในระหว่างที่อาจารย์อธิบายไปด้วยนั้นอาจารย์ก็ได้ให้หยิบของที่ตัวเองรักมาหนึ่งชิ้น ดิฉันเลือกนาฬิกาข้อมือ เพราะแม่ซื้อให้เป็นของขวัญที่เข้ามหาวิทยาลัยได้




และเลือกโฆษณาของหนึ่งชิ้นอะไรก็ได้ให้ดูน่าสนใจและอยากซื้อ ดิฉันเลือกร่ม แล้วบอกว่า ร่มคันนี้ใช้ดี สามารถกันแดดได้ 24 ชั่วโมง และทนทาน



อาจารย์ได้ให้วาดภาพแทนคำมาหนึ่งคำ ดิฉันวาดกระเป๋ากับดินสอ เมื่อรวมคำแล้วจะได้คำว่า กระเป๋าดินสอ
และอาจารย์ได้ให้วาดภาพอะไรก็ได้มาหนึ่งอย่าง ดิฉัน วาดบิกินี เพราะสวยดี
กิจกรรมเหล่านี้ทำให้รู้ถึงการใช้ทักษะในการพูดสื่อสารให้มีความน่าสนใจ การแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่นและการนำทักษะเหล่านี้ไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10


ไม่มีการเรียนการสอน หมายเหตุ เนื่องจาก อาจารย์ได้ให้เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่  15 สิงหาคม 2555 เวลา 13.00 น. ห้อง 223

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดสื่อที่เกี่ยวกับภาษา ซึ่งได้คิดออกมาว่าจะทำสื่อจากปฏิทินตั้งโต๊ะและใช้ตัวอักษรไทย ได้แก่
อักษรสูง     : ง  ญ  น  ย  ร  ว  ม  ล   
อักษรกลาง : ก  จ  ด  ต  บ  ป  อ
อักษรต่ำ     : ศ ฐ  ข  ส  ฝ  ถ  ผ  ห   ฉ
สระ : อะ   อา/อิ  อี/อุ  อู/เอะ  เอ/แอะ  แอ/โอะ  โอ
โดยจับกลุ่ม 3 คน แล้วออกไปจับฉลาก ส่งอาทิตย์ต่อไป



วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก สอบกลางภาค ภาคเรียนที่1/2555 ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค.- 6 ส.ค.

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

ได้ไปเล่านิทานให้น้องอนุบาล 3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ฟังโดยใช้นิทาน Big Book เรื่อง มดน้อยอดออม นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้จัก ขยัน มีความรับผิดชอบ และการเก็บออม ซึ่งน้องๆก็พากันตั้งใจฟังและสนุกสนานไปกับนิทานเรื่องนี้ด้วย หลังจากนั้นได้นำเสนองานจากการสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยจากการเล่านิทาน 


สรุปจากการสังเกตพฤติกรรมของน้อง คือ น้อง ๆ ทุกคนนั้นมีความสนใจที่อยากจะฟังนิทานและอยากจะตอบคำถามกันอย่างมาก  โดยน้อง ๆ จะยกมือขึ้นก่อนตอบคำถามพร้อมกับแสดงความคิดเห็นออกมาได้อย่างมีเหตุผล ในเวลาน้อง ๆ พูดจะมีความชัดถ้อยชัดคำทำให้สามารถฟังได้ง่ายและทำให้เข้าใจในสิ่งที่น้อง ๆ พูดออกมา

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6


อาจารย์ได้สั่งงานโดยให้แบ่งกลุ่ม โดยใช้กลุ่มเดิม และจับฉลากว่าจะได้ใช้สื่อแบบใดในการเล่านิทานให้น้องฟัง โดยสื่อมีดังต่อไปนี้
นิทานเล่มเล็ก    
นิทานBig Book  
VCD นิทาน    
สำหรับช่วงชั้นที่จะไปเล่ามี   อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1
และให้แต่ละกลุ่มนำสื่อที่จับได้นั้นไปเล่านิทานให้น้องฟัง  พร้อมกับจดบันทึกให้ละเอียดแล้ววิเคราะห์พฤติกรรมของน้อง   เมื่อจบการเล่านิทานก็ให้ตั้งคำถามน้อง เสร็จแล้วนำมาเสนอในสัปดาห์ต่อไป





วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5

นำเสนองาน การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย  ทั้งหมดมี 5 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ 
กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3 ขวบ
กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ
กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6 ขวบ
กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 9-11 ขวบ

โดยกลุ่มของดิฉันได้ เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ(เตรียมอนุบาล)



วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4

เนื่องจากอาจารย์ติดธุระในวันนี้ อาจารย์จึงได้มอบหมายงานให้กลุ่มทฤษฎีและกลุ่มที่ไปสัมภาษณ์รวมกลุ่มกันแล้วนำข้อมูลที่ได้มารวบรวม และคิดวิธีนำเสนอรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ ก่อนที่จะนำเสนอในอาทิตย์ต่อไป 

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มในการทำงานเกี่ยวกับภาษาของเด็กแต่ละช่วงวัย โดยให้จับกลุ่ม 5 คน แล้วให้ไปสัมภาษณ์เด็ก พร้อมกับถ่ายคลิปวีดีโอมาดูแล้ววิเคราะห์ว่าเด็กที่ไปสัมภาษณ์นั้นมีพัฒนาการทางภาษาเหมาะสมกับวัยหรือไม่ อย่างไร 


วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

 วันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงรายวิชาการจัดประการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเมื่อแยกออกมาจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งแยกออกมามีหัวข้อหลัก 4หัวข้อ คือ 1.พัฒนาการ  2.วิธีการเรียนรู้ 3.การจัดประสบการณ์  และ 4.ภาษา  ในแต่ละหัวข้อนั้นอาจารย์ได้สอนให้รู้ถึงความสำคัญว่าควรที่จะนำมาใช้และพัฒนาการสอนได้อย่างไร อีกทั้งอาจารย์ยังสอนร้องเพลงภาษาต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน พูดถึงความหมายของการเล่น เรื่องของสมอง และการปฏิบัติตนในเวลาเรียน สุดท้ายของคาบชั่วโมงอาจารย์ได้มอบหมายงานโดยแบ่งกลุ่ม 4-5 คน เพื่อสัมภาษณ์และถ่ายคลิปวิดีโอของเด็กในแต่ละวัยที่กำหนดให้พร้อมทั้งนำเสนองานด้วย Power Point โดยจะลงปฏิบัติจริงในคาบหน้าที่โรงเรียนสาธิตมาหวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 1

วันนี้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรก ได้มาเรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์ของตึกคณะศึกษาศาสตร์เข้ามาในห้องอาจารย์ก็ได้พูดถึงการลงทะเบียนของนักศึกษาว่าพยายามให้ลงเท่าๆกันและพูดข้อตกลงในห้องเรียนว่าควรแต่งกายอย่างไรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมาเรียน เมื่อเข้าใจในข้อตกลงกันแล้วอาจารย์ได้ให้ทำ Blogger เพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานแต่กว่าจะทำได้นานมาเลยทีเดียวเพราะเน็ตล้มหลายรอบมากในห้องก็เลยเกิดอาการวุ่นวายนิดหน่อย แต่สุดท้ายก็มีวิธีที่ทำได้สำเร็จทำให้ทุกคนสมัคร Blogger ได้ จากตอนแรกที่เครียดกันก็กลายเป็นว่าดีใจ